ขั้นตอนและกรรมวิธีการหล่อกระดิ่งแบบขี้ผึ้งหาย (พิมพ์สุก)

www.siambell.com

หล่อและจำหน่าย กระดิ่งทองเหลือง กระดิ่งสัมฤทธิ์ กระดิ่งสำริด กระดิ่งลงหิน กระดิ่งใบโพธิ์ กระกระดิ่งวัด กระดิ่งช่อฟ้า กระดิ่งโบสถ์ เป็นงานแฮนด์เมด เกรด A งานปราณีต สวยงาม เสียงใส ดังกัวงาน 

โทร. 081-913 1733

Line ID : @siambell

       

กรรมวิธีการหล่อกระดิ่งแบบขี้ผึ้งหาย (พิมพ์สุก)

ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมดิน โดยนำดินโพน หรือดินจอมปลวกมาผสมกับมูลวัว ในอัตราส่วนดิน 2 ส่วน มูลวัว 1 ส่วนแล้วนำมาคลุกเคล้ากัน และตำจนเป็นเนื้อเดียวกัน
       
ขั้นตอนที่ 2: ปั้นหุ่นหรือพิมพ์ต้นแบบ โดยนำดินที่ตำเสร็จแล้วผสมน้ำ และปั้นเป็นหุ่น (หุ่นกระดิ่ง) ให้มีรูปร่าง ลักษณะ และขนาดตามที่ต้องการ จากนั้นใช้ไม้มอนเสียบกลางหุ่นเพื่อให้สามารถจับยึด กลึง หรือเสี่ยนได้ แล้วนำไปตากให้แห้งประมาณ 5 วัน  (ไม้มอน คือแท่งไม้ที่กลึงให้กลม มีขนาดความยาว และความหนาแตกต่างกันหลายขนาดตามขนาดของกระดิ่ง)
            
ขั้นตอนที่ 3: เสี่ยนพิมพ์ คือการนำหุ่นหรือพิมพ์ที่แห้งแล้วไปประกอบใส่โฮงเสี่ยน (เป็นเครื่องกลึงแบบโบราณ) เพื่อทำการกลึงให้เรียบ และได้ขนาดตามที่ต้องการ
               
 
ขั้นตอนที่ 4: เคียนขี้ผึ้งหรือพันขี้ผึ้ง คือการใช้ขี้ผึ้งที่ทำเป็นเส้น (การรีดขี้ผึ้ง) มาพันรอบหุ่นที่ผ่านการเสี่ยนแล้ว   อุ่นขี้ผึ้งเล็กน้อยแล้วบีบให้ขี้ผึ้งเรียบแบนติดเป็นแผ่นเดียวกัน และมีความหนาเสมอกันตลอด         
            
ขั้นตอนที่ 5: เสี่ยนขี้ผึ้งหรือกลึงขี้ผึ้ง โดยการนำไปกลึงให้ผิวเรียบเป็นรูปทรงสวยงาม ความหนาปกติของชิ้นงานจะประมาณ 5 มม.
        
ขั้นตอนที่ 6: พิมพ์ลาย เป็นขั้นตอนการสร้างลายโดยใช้ลูกกลิ้งพิมพ์ หรือกดพิมพ์ลายที่ตัวกระดิ่งให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ
                                   
ขั้นตอนที่ 7: การติดหูกระดิ่งและติดชนวน หมายถึงการติดขี้ผึ้งที่ส่วนหัวของกระดิ่งเพื่อทำเป็นหูกระดิ่ง จากนั้นต่อสายขี้ผึ้งให้ยาวออกมาเพื่อใช้เป็นรูเทเพื่อให้น้ำทองไหลวิ่งไปได้สะดวกทั่วถึงกันตลอดชิ้นงาน
   
ขั้นตอนที่ 8: โอบเพชร หมายถึงขั้นตอนการใช้ดินผสมมูลวัวที่ละเอียดมาหุ้มหุ่นที่ทำลายและติดชนวนเรียบร้อยแล้ว โดยต้องให้สายชนวนโผล่ยื่นออกมา จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง
         
ขั้นตอนที่ 9: โอบเบ้า โดยการใช้ดินเหนียวผสมแกลบโอบหรือหุ้มเบ้าอีกครั้งหนึ่ง ตากแดดให้แห้งประมาณ 3 - 4 วัน จากนั้นนำมาปาดปากเบ้าเพื่อเปิดรูให้ขี้ผึ้งไหลออกมาได้
              
ขั้นตอนที่ 10: สุมเบ้าหรืออุ่นเบ้า โดยการวางเบ้าในเตาเผา (อุณหภูมิของเตาเผาเบ้าประมาณ 600 องศา) โดยคว่ำปากเบ้าลงเพื่อให้ขี้ผึ้งที่ละลายไหลออกได้ เพื่อให้เกิดเป็นโพรงว่างเพื่อนำน้ำทองเทเข้าไปแทนที่ว่างในขั้นตอนต่อไป
                                            
ขั้นตอนที่ 11: เททอง เป็นขั้นตอนการเททองโดยการเทน้ำทองที่หลอมละลายแล้วเทลงในเบ้า โดยการนำเบ้ามาวางเรียงไว้ใกล้เตาหลอมในลักษณะหงายรูเทขึ้น และต้องเทหล่อในขณะที่เบ้ามีอุณหภูมิสูง ไม่เช่นนั้นจะทำให้โลหะไหลไม่เต็มแบบ
   
ขั้นตอนที่ 12: แกะแบบ เมื่อน้ำทองแข็งตัวดีแล้ว ทำการทุบเบ้าดินให้แตกเพื่อนำเอางานหล่อที่ได้ออกมากลึงแต่ง
             
ขั้นตอนที่ 13: กลึงแต่ง ก่อนนำมากลึงแต่งต้องทำความสะอาดและล้างน้ำให้ดินออกหมดก่อน จากนั้นใช้เครื่องกลึงแต่งผิวให้สวยงามแล้วนำไปขัดให้เงา
    
ขั้นตอนที่ 14 :  ติดตุ้มและใบกระดิ่ง นำกระดิ่งที่กลึงแต่งเรียบร้อยสวยงามแล้วมาติดตุ้มและใบ เพื่อจำหน่ายต่อไป 
 
#กระดิ่งทองเหลือง #กระดิ่งสัมฤทธิ์ #กระดิ่งสำริด #กระดิ่งลงหิน #กระดิ่งวัด #กระดิ่งใบโพธิ์ #กระดิ่งลม #กระดิ่งโบสถ์ #กระดิ่งทำบุญ #ระฆังลม #ระฆังวัด #ระฆังใบโพธิ์ #สยามเบลล์ #siambell
 

     

Visitors: 415,794