กระดิ่งกับความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมของคนไทย

www.siambell.com  (กระดิ่งสยามเบลล์)

ผลิตและจำหน่าย กระดิ่งทองเหลือง กระดิ่งช่อฟ้า กระดิ่งลงหิน คุณภาพดี ราคาถูก เนื้อทองเหลืองลงหิน เสียงใสดังกังวาน งานปราณีต แข็งแรงทนทาน แขวนบนช่อฟ้าวัดที่มีลมพัดแรงๆรับประกันว่าไม่แตก ใบกระดิ่งย้ำด้วยหมุดตราไก่อย่างดี ทนทานไม่หลุดขาดง่าย

สนใจโทร. 081-913 1733 หรือ Line ID : @siambell

                                     

 

                                      

      

        

 

***สินค้าโอทอป งานทำมือ ทำเอง รูปสินค้าถ่ายจากของจริง เหมือนจริงไม่ได้แต่ง***

กระดิ่งกับวัฒนธรรมไทย

          เมื่อพูดถึงกระดิ่ง คงไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก ตรงกันข้ามกับรู้สึกคุ้นเคยกับมันอย่างดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง (แม้แต่เสียงกระดิ่งขายไอศกรีม) แต่ไม่มีใครรู้ว่ากระดิ่งได้เข้ามามีอิทธิพลกับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ 

          
          มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายจากการขุดพบซากเศษวัสดุของใช้โบราณที่เป็นสำริดและหลายชิ้นเป็นกระดิ่งหรือระฆัง ในฐานะเครื่องมือ เครื่องใช้หรือเครื่องสังฆกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากระดิ่ง หรือระฆัง ได้ใกล้ชิดกับสังคมไทยมาแล้วเป็นระยะเวลานาน
 
          ในสังคมไทยโบราณแต่ไหนแต่ไรมา เรามีวัดเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน พระภิกษุสงฆ์ในวัดก็มีบทบาทหน้าที่หลายอย่างในชุมชนเช่น การเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ และพิธีกรรมทางศาสนา เป็นครู เป็นที่ปรึกษาฯลฯ รวมถึงการเป็นนาฬิกาบอกเวลาให้กับชุมชนด้วยการตีระฆัง และนั่นคงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหอระฆังในวัด และดูเหมือนจะเป็นประเพณีไปเสียแล้ว แม้ว่าวัดบางวัดที่มีระฆังแทบจะไม่เคยใช้เลยก็มี 
 
          จำได้ว่าในสมัยยังเป็นเด็ก ๆ เสียงกระดิ่งของคนสะพายกระติกไอศกรีมเดินขายไอศกรีมเข้ามาในหมู่บ้าน พร้อมกับสั่นกระดิ่ง กรุ๊งกริ๊ง ๆ เป็นอันรู้กันว่าต้องร้องขอสตางค์แม่หนึ่งสลึงมาซื้อทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เห็นคนขายเลยด้วยซ้ำไป (ปัจจุบันยังมีให้ได้ยินอยู่บ้าง แต่หลายรายได้เปลี่ยนไปเป็นเสียงอีเลคทรอนิคแทนแล้ว) พอเข้าโรงเรียนกระดิ่งใบใหญ่ที่แขวนอยู่ข้างห้องเรียนที่ใช้ตีเพื่อบอกเวลาเข้าเรียน-เลิกเรียน ยังคงคิดถึงทุกครั้งเมื่อนึกถึงวัยเยาว์ (สมัยนี้คงเป็นเสียงออดไปซะแล้ว) พอวัยรุ่นเริ่มรู้จักเที่ยวต่างจังหวัด ยังคงจำภาพของนายสถานีรถไฟที่ตีกระดิ่งเพื่อเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่ารถไฟกำลังเทียบท่าสถานี (สมัยนี้ใช้อะไรแทนแล้วก็ไม่รู้ เพราะไม่ได้ใช้บริการมานานมาก ใช้แต่บริการรถไฟฟ้า)
 
          ในสมัยสุโขทัยเองระฆังก็ได้มีบทบาทต่อการปกครองของไทยด้วย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงตั้งระฆังใบใหญ่ไว้ที่หน้าวัง เพื่อให้ไพร่ฟ้า ประชาชน ที่เดือดร้อนและไม่สามารถร้องขอความช่วยเหลือ หรือความเป็นธรรมได้มาตี เพื่อให้พระองค์มาช่วยเหลือ
 
          ในสังคมชนบทที่มีการเลี้ยงวัว ควายไว้ใช้งาน เราก็จะสังเกตเห็นลูกกระพรวน หรือกระดิ่งที่ห้อยคอสัตว์เหล่านั้นไว้ ไม่ใช่การห้อยไว้โก้ ๆ เท่านั้นแต่เป็นการห้อยไว้ให้เกิดเสียงดังเมื่อมันเดิน เพื่อให้เจ้าของได้ยินกันวัวหาย หรือถูกลักขโมยไป นอกจากนั้นเสียงลูกกระดิ่งจากฝูงวัวขณะต้อนฝูงวัวออกหากินตอนเช้า และขณะต้อนฝูงวัวกลับบ้านตอนเย็น ยังเป็นสิ่งบอกเวลาให้กับคนในชุมชนด้วยว่าได้เวลาออกทำมาหากิน และเวลาพักผ่อนแล้ว
 
          ย้อนกลับมาที่วัดอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเราสังเกตให้ดี เวลาเราเข้าวัดเราจะได้ยินเสียงกระดิ่ดังกรุ๊งกริ๊ง ๆ เซ็งแซ่เต็มวัดไปหมด โดยเฉพาะวัดที่ดัง ๆ หน่อย และบนช่อฟ้า หลังคาวัดก็จะมีกระดิ่งแขวนอยู่เต็มไปหมด   นั่นก็เป็นเพราะความเชื่อของคนไทยที่เชื่อว่า การทำบุญด้วยกระดิ่งจะได้บุญ เพราะเสียงของกระดิ่งจะเป็นการเรียกเงิน เรียกทอง และชื่อเสียงให้กับตน จริง ๆ แล้วการทำบุญด้วยกระดิ่งน่าจะจำลองมาจากการทำบุญด้วยระฆัง ซึ่งแม้ว่าการทำบุญด้วยระฆังจะได้บุญมากก็ตาม แต่เนื่องจากระฆังนั้นใบใหญ่ น้ำหนักมาก มีราคาแพง จึงเปลี่ยนมาเป็นกระดิ่งแทน
 
          ปัจจุบัน กระดิ่งได้เพิ่มบทบาทหน้าที่ใหม่ให้กับสังคมไทย ได้แก่การใช้เป็นเครื่องประดับ ตกแต่งอาคาร บ้านเรือน เนื่องจากมีการผลิต ออกแบบ กระดิ่งรูปแบบใหม่ ๆ สวยงามมากมาย มีทั้งที่ใช้วัสดุต่าง ๆ หลากหลายชนิด ทั้งที่ประดับภายนอก ภายใน ฯลฯ และอีกบทบาทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายของกระดิ่งก็คือ ใช้แก้เคล็ด เสริมดวง ตามหลักฮวงจุ้ย เพราะเป็นแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อที่ว่า เสียงอันไพเราะและกังวานของกระดิ่ง จะเป็นการเรียกชื่อเสียง เงินทอง รวมถึงสิ่งดีๆ ต่างๆ เข้าหาสถานที่นั้น ๆ
 
#กระดิ่งทองเหลือง #กระดิ่งช่อฟ้า #กระดิ่งลม #กระดิ่งเรียกทรัพย์ #ทำบุญด้วยกระดิ่ง #กระดิ่งสยามเบลล์ 
Visitors: 401,506