โรงหล่อระฆังสยามเบลล์ โรงหล่อระฆังทองเหลือง โรงหล่อกระดิ่ง

    
 
โรงหล่อระฆังสยามเบลล์  รับหล่อระฆังทองเหลือง ระฆังสำริด ระฆังหิน ระฆังโบสถ์ รับหล่อกระดิ่งทองเหลือง กระดิ่งลงหิน ทุกไซด์ทุกขนาด ใช้วัสดุอย่างดี งานปราณีต บริการดี ไว้ใจได้ ราคาถูก รับประกันผลงานด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี ตามขนาดมาตรฐานของระฆังที่โรงหล่อระฆังสยามเบลล์หล่อตั้งแต่ขนาด 3 - 8 กำ สนใจดูรายละเอียดได้ในเว็บไซด์ www.siambell.com หรือติดต่อโรงหล่อระฆังสยามเบล์
 
โทร.  081-913 1733
Line ID : @siambell
 
หมายเหตุ : ราคาระฆังของแต่ละโรงหล่อไม่เท่ากัน ขึ้นกับคุณภาพของวัตถุดิบ คุณภาพและบริการ โดยเฉพาะเทคนิคการหล่อ ที่โรงหล่อระฆังสยามเบลล์เราหล่อแบบหุ่นดินตามกรรมวิธีการหล่อระฆังแบบโบราณ ทำให้ระฆังมีเสียงที่ใสดังกังาน 
 

 การหล่อระฆังแบบโบราณ

 

           ความหมาย คตินิยม ประเพณี

 
           ระฆัง จัดเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งใช้การตี หรือกระทุ้งเพื่อให้เกิดเสียงดังเสียงที่ตีจัดเข้าเป็นสัญลักษณ์ที่บอกถึงความหมายในจุดประสงค์ที่ผู้ตีได้กำหนดเป็นเป้าหมายไว้ ในอดีตของประเทศในแถบยุโรปใช้ตีบอกสัญญาณเป็นการตีบอกเวลาเฉลิมฉลองในเทศกาลสำคัญต่างๆ และเป็นการตีบอกสัญญาณของผู้จากไป ในแถบเอเชียและในประเทศไทย ใช้เป็นการบอกสัญญาณเวลาในทางศาสนากิจต่างๆ ใช้บอกสัญญาณเหตุการณ์ต่างๆสำหรับการบอกกล่าวและประกาศสิ่งดีที่ตนเองได้กระทำไปแล้ว นอกจากนั้นประชาชาชนยังได้รับทราบระยะห่างของช่วงเวลาได้อีก จากเอกสารและหลักฐานที่ปรากฏพบว่าผู้มีความรู้ความชำนาญในการออกแบบและหล่อระฆังแบบโบราณมีจำนวนไม่มากนักและทำกันเป็นการเฉพาะกลุ่มในวงศ์ญาติสนิทเท่านั้น อีกทั้งสถานศึกษาที่มีการผลิตและฝึกอบรมด้านช่างศิลปกรรมไม่พบว่ามีการจัดการสอนการหล่อระฆังอย่างแพร่หลาย อาจเป็นเพราะอิทธิพลในความต้องการของตลาดมีน้อยและไม่มากนักจึงขาดการสานต่ออย่างเป็นระบบอย่างแพร่หลายรวมทั้งจะต้องมีการส่งเสริมช่างผู้สร้างงานให้มีการพัฒนากิจกรรมให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลเอกสารในชั้นต้นไม่พบการบันทึกกระบวนการและขั้นตอนไม่มีการบันทึกไว้เป็นการอ้างอิงได้เลย จึงเป็นการสมควรในการที่จะต้องทำการสัมภาษณ์สร้างงานควบคู่ไปกับการบันทึกภาพ และด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจุบัน ระฆังยังมีความสำคัญและเป็นที่ต้องการอยู่อีกมากตามวัดและสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ
 

           ความเป็นมาของการหล่อระฆัง

 
           จากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณถึงสมัยกลาง ยืนยันได้ว่ามนุษย์รู้จักวิธีการหลอมโลหะ และการทำแบบหล่อ เพื่อผลิตชิ้นงานหล่อมาใช้งาน ดังเช่นเมื่อประมาณ 5,000 ปี มนุษย์ได้ผลิตงานหล่อเป็นหัวขวาน ที่ทำจากทองแดงโดยวิธีการหลอมและเทลงในแบบที่ขุดลงในหินทราย และต่อมามีการพัฒนาโดยการทำไส้แบบและ การทำแบบเป็นสองชั้น การหล่อบรอนซ์นั้นกระทำกันครั้งแรกในเมโสโปเทเมียประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช และเทคนิคนี้ได้รับการถ่ายทอดมาสู่เอเชียกลาง อินเดียและจีน มาถึงจีนประมาณ 2,000 ปีก่อน คริสตศักราช ในประเทศจีนสมัย ยิน ประมาณ1,500-1,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ก็ได้มีการหล่อภาชนะที่มีขนาดใหญ่ๆและคุณภาพดีได้สำเร็จการถ่ายทอดเข้าไปสู่ยุโรปประมาณ 1,500-1,400 ปีก่อนคริสตศักราช โดยผลิตเป็นดาบ หัวหอก เครื่องประดับ ภาชนะต่างๆและเครื่องตกแต่งที่ใช้ในงานศพเป็นต้น กลุ่มประเทศที่ผลิตงานหล่อในยุคนั้น คือ สเปน สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมันนี ออสเตรีย นอร์เว เดนมาร์คสวีเดน อังกฤษ และ ฝรั่งเศสเทคนิคการหล่อบรอนซ์ในอินเดียและจีน ได้มีการเผยแพร่เข้าไปสู่ญี่ปุ่นและเอเชียอาคเนย์ ในญี่ปุ่นมีพระพุทธรูปสวยๆที่ได้สร้างขึ้นในระหว่างคริสตศักราช 600-800 เหล็กถูกค้นพบและนำมาใช้งานในยุคต่อมาโดยเริ่มต้นจากการนำมาตีให้เป็นแผ่นเช่นเดียวกับทองแดง ชาวอัสสิเรียนและชาวอียิปต์ใช้เครื่องมือ ที่ทำด้วยเหล็กประมาณ 2,800-2,700 ปีก่อนคริสตศักราช ต่อมาประมาณ 800-700 ปีก่อนคริสตศักราชจีนได้ค้นพบวิธีการทำเหล็กหล่อจากเหล็กปิก (pig iron)ซึ่งมีอุณหภูมิหลอมเหลวต่ำและ มีปริมาณเฟอรัสผสมอยู่ปริมาณมาก โดยผลิตโดยใช้เตาแบบแบน (plane bed)และ เทคนิคการผลิตเหล็กหล่อโดยวิธีนี้ได้แผ่ขยายไปในประเทศแถบทะเลเมติเตอร์เรเนียนในกรีชราว 600 ปีก่อนคริสตศักราช ตัวอย่างงานที่ทำจากเหล็กหล่อเช่น อนุสาวรีย์ของเอปามินอนตาส และเฮอร์คิวลีส ตลอดจนอาวุธและเครื่องมือต่างๆที่เป็นชิ้นงานหล่อ
 

              แนวคิดการสร้างและหล่อระฆังในภูมิภาคตะวันตก

      
ในประเทศอินเดีย ได้มีการผลิตเหล็กปิก และส่งไป
ขายที่อียิปต์และยุโรป แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีการผลิตเหล็กหล่อจากเหล็กปิกกันจริงๆจังๆ จนกระทั่งในนคริสตศตวรรษที่ 14ในเยอรมันนี และอิตาลี่ ได้ทำการหล่อระฆังด้วยเตา บลาสต์(blast furnace) มีรูปทรงเป็นทรงกระบอกแทนเตาแบนวิธีการหลอมนำแร่เหล็กเทใส่ลงไปในเตาสลับกับถ่านถ่านไม้งานที่หล่อในสมัยนั้น เช่น ปืนใหญ่ ลูกปืนใหญ่ เตาอบ ท่อ เป็นต้นวิธีการหล่อในสมัยนั้นใช้การเทโลหะเหลวที่ได้จากแร่ลงไปโดยตรงที่แบบ ไม่มีการทำเหล็กปิกก่อนแล้วจึงนำเหล็กปิกมาหลอมเป็นงานหล่อโดยการเทลงไปแบบหล่อดังเช่นที่ทำอยู่ในปัจจุบันและได้ค้นพบถ่านโค๊กและนำมาใช้แทนถ่านไม้ ในอังกฤษในคริสตศวรรษที่ 18 และมีการหล่อชิ้นงานที่ได้จากเหล็กปิกและพัฒนาเตาให้มีขนาดเล็กลง เป็นครั้งแรกที่ ประเทศฝรั่งเศส สำหรับเตาคล้ายคลึงกับเตาคิวโปล่า (cupola) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษ ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการผลิตงานหล่อ โดยวิธีการนำเหล็กปิกมาหลอมอีกครั้ง และยังมีการทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน สมัยต่อมาได้มีการพัฒนาเหล็กหล่อได้เป็นเหล็กเหนียวหล่อ (cast steel)โดยวิธีการทำเหล็กเหนียวหล่อจากเหล็กปิก โดย H.Bessemer หรือ W.Siemens หลังคริสตศวรรษที่ 19 ซึ่งในสมัยโบราณได้รู้จักวิธีมีการตีเหล็กเหนียวมาก่อน ต่อมางานอลูมิเนียมหล่อผสมได้มีขึ้นในตอนปลายคริสตศวรรษที่ 19 หลังจากที่มีการค้นพบวิธีการทำอลูมินัมบริสุทธิ์โดยการแยกด้วยไฟฟ้า (electrolysis)
 

          การหล่อโลหะและการหล่อระฆังในประเทศไทย

 
          จากหลักฐานทางโบราณคดีได้มีการขุดค้นพบหลายแห่ง และที่เก่าแก่ที่สุด คือที่บ้านเชียงซึ่งมีการพิสูจน์และระบุไว้ชัดเจนที่สุด โดยกรมศิลปากร จากหลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่า การโลหะกรรมที่ค้นพบที่บ้านเชียงอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มต้นโดยการใช้สำริดเมื่อช่วงเวลาเมื่อ 4,000 ปีผ่านมาแล้ว หลังจากนั้นเมื่อราว 2,700-2,500 ปีมาแล้วจึงเริ่มมีการใช้เหล็ก ในทางโลหะวิทยานั้น “สำริด” (Bronze) หมายถึงโลหะผสมที่มีทองแดง(Cu)และมีดีบุก(Sn)เป็นส่วนผสมหลัก ดีบุกช่างโลหะตั้งใจเติมลงไปในปริมาณตั้งแต่ 1 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แต่โดยทั่วไปนั้น สำริดชนิดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับใช้ทำเครื่องมือ เครื่องใช้จะมีดีบุกผสมอยู่ประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ (Coghlan 1975 : 81) วัตถุที่เกี่ยวข้องกับการทำสำริดที่พบที่บ้านเชียงมีทั้งเบ้าดินเผาสำหรับหลอมโลหะ และแม่พิมพ์หินทรายสำหรับหล่อโลหะ ซึ่งหลักฐานแสดงว่ามีการหล่อโลหะขึ้นเองที่บ้านเชียง ส่วนวัตถุสำริดที่ผลิตขึ้นนั้นมีทั้งใบหอก หัวขวาน หัวลูกศร กำไลข้อมูล กำไลข้อเท้า เบ็ดตกปลา วัตถุสำริดที่มีความเก่าแก่ที่สุดที่พบที่บ้านเชียง คือ ใบหอก ที่พบที่หลุมฝังศพหลุมหนึ่งของระยะที่ 3 ของบ้านเชียงสมัยต้น ซึ่งเป็นหลุมฝังศพที่มีอายุราว 4,000 ปีมาแล้ว การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของใบหอกนี้ พบว่าเป็นสำริด ที่มีดีบุกผสมอยู่ประมาณ 3 % ซึ่งจัดว่าเป็นดีบุกที่อยู่ในระดับต่ำ ต่ำกว่าในสำริดชนิดสามัญ ส่วนการวิเคราะห์ลักษณะผลึกของโครงสร้างภายในของใบหอกสำริดนี้ พบว่า ขั้นตอนแรกในการผลิต คือ การหล่อโดยใช้แม่พิมพ์ชนิด 2 ชิ้นประกบกัน จากนั้นก็มีการนำใบหอกที่หล่อได้ไปตีขึ้นรูปในขณะที่เย็น เพื่อตกแต่งรูปร่างให้สมบูรณ์ แต่เนื่องจากการตีในขณะที่โลหะเย็นนั้น ทำให้โครงสร้างเดิมของโลหะเกิดการบิดเบี้ยว และคุณสมบัติของโลหะสำริดเปลี่ยนไปเป็นมีความเปราะมากขึ้น จึงมีการนำเอาใบหอกชิ้นนี้ไปลดความเปราะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตีขณะเย็นโดยการเผาใบหอกให้ร้อนจนเป็นสีแดง แล้วทิ้งให้เย็นตัวลงอย่างช้าๆ กรรมวิธีการใช้ความร้อนช่วยในการลดความเปราะและทำให้มีความเหนียวเพิ่มขึ้นแก่โลหะสำริด เช่นนี้ เรียกว่า วิธี “แอ็นนิลลิ่ง”(annealing)
 
            จากร่องรอยของผลึกโลหะที่แสดงชัดเจนว่าใบหอกสำริดชิ้นนี้ทำโดยผ่านกรรมวิธีแอ็นนีลลิ่งด้วยนั้นชี้ให้เห็นว่าช่างสำริดรุ่นแรกของบ้านเชียงมีความรู้และความเข้าใจในเทคนิคของการโลหะกรรมสำริดเป็นอย่างดี และนอกเหนือจากการหล่อสำริดด้วยแม่พิมพ์ชนิด 2 ชิ้นประกบกันแล้ว ช่างสำริดสมัยแรกๆของบ้านเชียงเมื่อระหว่าง 3,000-4,000 ปีมาแล้ว ยังทำการหล่อโลหะด้วยวิธี หล่อแบบขี้ผึ้งหาย “Lost-wax casting” อีกด้วย กำไลสำริดแบบที่มีลูกกระพรวนประดับ ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่พบมาตั้งแต่ช่วงระยะท้ายๆ ของวัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยต้นล้วนแต่หล่อขึ้นมาด้วยวิธีนี้ทั้งสิ้น ใบหอกสำริด พบอยู่กับโครงกระดูกสมัยต้น นับเป็นเครื่องสำริดชิ้นที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านเชียง อายุประมาณ 4,000 ปี
 
           โลหะสำริดของบ้านเชียงตั้งแต่ช่วงระยะปลายของสมัยต้นนั้น ส่วนใหญ่เป็นชนิดสามัญซึ่งหมายถึงสำริดที่มีทองแดงผสมอยู่ราว 85-90 % และมีดีบุกราว 10-15% นอกจากนี้ยังมีสำริดชนิดที่ผสม ตะกั่วเพิ่มลงไปเป็นองค์ประกอบหลักชนิดที่ 3 นอกจากทองแดงและดีบุก การผสมตะกั่วลงไปในสำริดนั้นเป็นวิธีการทางโลหะวิทยาที่ทำให้โลหะสำริดหลอมเหลวได้ง่ายขึ้นโลหะเหลวมีความหนืดลดลง ทำให้การไหลตัวของโลหะเหลวเข้าในแม่พิมพ์ได้ดีขึ้น และยังช่วยลดฟองอากาศในโลหะเหลว ทำให้วัตถุที่หล่อมีคุณภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สำริดที่มีตะกั่วผสมอยู่ด้วยจะมีความแข็งน้อยกว่าสำริดชนิดที่ที่มีเฉพาะทองแดงและดีบุกเป็นส่วนผสม จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ทำเครื่องมือ หรือ อาวุธที่ต้องการความแข็ง มีความเหมาะสมสำหรับนำมาทำเครื่องประดับโดยเฉพาะที่มีลักษณะรูปร่างที่ซับซ้อนและลวดลายที่สวยงาม เช่น กำไลที่มีลูกกระพรวนประดับ ซึ่งผลิตโดยกรรมวิธีการหล่อแบบขี้ผึ้งหาย วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการหลอมหล่อที่บ้านเชียง คือ ทองแดงและดีบุก คณะผู้ศึกษาได้รายงานว่า ที่บ้านเชียงและบริเวณใกล้เคียงไม่มีแหล่งแร่ทั้งสองชนิด โดยไม่มีร่องรอยของการทำเหมืองแร่ และทำกระบวนการถลุงแร่ที่บริเวณบ้านเชียง นั่นหมายความว่าช่างหล่อโลหะจะต้องนำเอาวัตถุดิบมาจากแหล่งอื่นโดยสันนิษฐาน ว่าอาจจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นที่เป็นผู้ผลิตโลหะโดยเฉพาะในราวประมาณ 2,700-2,500 ปีมาแล้ว จึงเริ่มปรากฏมีการใช้เหล็กทำเบ้าดินเผาสำหรับใช้ในงานหล่อ
 
          เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ เช่น หัวขวาน ใบหอก มีด หัวลูกศร เป็นต้น ในช่วงนี้สำริดก็ยังคงเป็นที่นิยมใช้อยู่แต่เปลี่ยนนำมาทำเป็นเครื่องประดับกันเป็นส่วนใหญ่ผลจากการวิเคราะห์เหล็กที่นำมาใช้กันในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง พบว่าเป็นเหล็กที่ได้มาจาก การถลุงสินแร่เหล็ก (iron ores) ด้วยวิธีการถลุงเหล็ก แบบที่เรียกว่า กระบวนการถลุงโดยตรง(direct smelting process) วิธีการนี้ต่างจากการถลุงเหล็กสมัยโบราณในประเทศจีน ซึ่งนิยมการถลุงด้วยกระบวนการทางอ้อม (indirect smelting process)ในการถลุงเหล็กตามกระบวนการถลุงโดยตรงนั้น จะต้องนำแร่เหล็กที่ขุดมาจากเหมืองและนำมาทำความสะอาดให้ดีแล้วนำมาผสมคลุกเคล้ากับกับถ่านในสัดส่วนที่ถูกต้องบรรจุลงในเตาถลุง จากนั้นจึงจุดไฟ เติมถ่านเป็นระยะๆและสูบลมเพื่อให้ไฟร้อนแรงอยู่ตลอดเวลาทำให้อุณหภูมิภายในเตาสูงขึ้น และมีก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์มากพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้แร่เหล็กที่อยู่ในสภาพของเหล็กออกไซด์เป็นไปเป็นเหล็กบริสุทธิ์ (metallic iron) นอกจากนี้ในเตาถลุงยังต้องมีการเติมเชื้อถลุง (flux)ซึ่งในกรณีของการถลุงเหล็กนั้น ได้แก่ สารประเภทแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งสามารถได้มาจากปูนขาว กระดูกป่น หรือเปลือกหอยป่น เป็นต้น เชื้อถลุงจะเป็นตัวช่วยดึงเอาสิ่งหรือธาตุมลทินต่างๆที่ปนอยู่ในแร่ รวมตัวกันเป็นขี้ตะกรัน (slag) วิธีการถลุงดังที่กล่าวมาจะไม่ทำให้เหล็กหลอมเหลวแต่จะเกิดการรวมตัวกันเป็นเป็นก้อนดลหะ ที่มีรูพรุนขนาดเล็กๆ มากมายในโครงสร้างที่มีธาตุคาร์บอนผสมอยู่น้อยกว่า 0.5 % จัดเป็นเหล็กอ่อน (wrought iron) ซึ่งเกือบเป็นเหล็กบริสุทธิ์ สามามรถนำไปตีขึ้นรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้โดยง่าย วิธีการทำเครื่องมือจากโลหะกลุ่มเหล็กในสมัยโบราณประกอบด้วยการตีขึ้นรูปในขณะที่เหล็กยังร้อน (Hot working) กรรมวิธีการตีเหล็กทำได้โดยการนำเหล็กมาเผาในเตาให้ร้อนแดงก่อน แล้วจึงนำมาตีด้วยพะเนินบีบ และรีดด้วยเหล็กให้มีการเปลี่ยนรูปร่างลักษณะตามที่ต้องการ หากการให้ความร้อนโดยใช้เปลวไฟสัมผัสโดยตรงกับโลหะ โดยใช้สูบลมแบบโบราณ ในงานตีเหล็กเหล็กเย็นตัวลงต้องนำกลับมาเผาให้ความร้อนแดงใหม่อีกครั้งก่อนนำมาตีซ้ำอีกทำสลับกันอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้จะได้รูปร่างและขนาดตามที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงนำมาทำกรรมวิธีในขั้นตอนสุดท้าย คือ “การชุบ” ขั้นตอนนี้โดยการนำเครื่องมือเหล็กมาเผาให้ร้อนแดงอีกครั้งก่อนนำไปจุ่มแช่ลงในน้ำเย็นทันที การทำเช่นนี้ทำให้โครงสร้างภายในเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นหลักการทางโลหะวิทยาที่นำมาใช้เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกลขอเหล็กกล้าให้มีความแข็งเพิ่มสูงขึ้น
          ผลการวิเคราะห์เครื่องมือเหล็กรุ่นแรกๆของบ้านเชียง แสดงให้เห็นว่าช่างเหล็กสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีความรู้ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการตีเหล็ก และการชุบเหล็กตามวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอย่างดีพัฒนาการด้านโลหะกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเมื่อราว 2,500-2,300 ปีมาแล้ว คือ การทำสำริดชนิดที่มีดีบุกผสมในปริมาณสูง (high tin bronze) หมายถึงสำริดที่มีดีบุกผสมอยู่มากถึง 20 % ปริมาณของธาตุดีบุกที่มีสูงมากๆมีผลทำให้ โลหะผสมมีความแข็งและเปราะมาก มีสีออกสีคล้ายทอง และสีเงินโดยขึ้นกับปริมาณดีบุกที่ผสม คุณสมบัติด้านความแข็งแต่เปราะของโลหะผสมชนิดนี้เป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถผลิตชิ้นงานเครื่องมือเครื่องใช้ให้ได้คุณสมบัติตรงตามที่ต้องการใช้งานได้ยากโดยวิธีการหล่อแบบธรรมดา แต่จะต้องประยุกต์เอาวิธีการตีขึ้นรูปแบบเดียวที่ใช้กับเหล็กมาใช้ร่วมด้วยจึงจะได้งานที่คุณสมบัติตรงตามที่ต้องการใช้งาน คือ มีความแข็ง แต่ไม่เปราะ วิธีการดังกล่าวคือการเผาให้ร้อนแดงและตีในขณะที่ร้อน ทำสลับกันระหว่างการเผาและการตีทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รูปร่างตามที่ต้องการ และรอบสุดท้ายจึงนำไปชุบลงไปในน้ำเย็นทันที วิธีการทำด้วยเทคนิคนี้ ทำให้ช่างโลหะสามารถทำเครื่องประดับและภาชนะสำริดที่มีความแข็งมาก มีความทนทาน และมีสีสวยงามกว่าสำริดธรรมดาจากผลการศึกษาวิเคราะห์ของตัวอย่างที่ขุดพบที่บ้านเชียง บ่งชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านการโลหะกรรมของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นอย่างดีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น (ไม่มีการค้นพบหลักฐานการหล่อระฆังด้วยวัสดุสำริดของคุณในยุคนั้น)
          สำหรับงานหล่อแบบขี้ผึ้งหายในปัจจุบันมีการพัฒนากระบวนการผลิตให้ทันสมัยเพื่อให้ได้สามารถผลิตงานได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ต้องการ สามารถหล่อได้ทั้งงานที่เป็นโลหะกลุ่มที่เป็นเหล็กและไม่ใช่เหล็ก ตัวอย่างเช่น หัวไม่ตีกอล์ฟ ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ของเครื่องบินและอากาศยานต่างๆ เครื่องมือ ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมการทำเครื่องประดับ รวมถึงการหล่อระฆังและกระดิ่งเป็นต้น เตาหลอมที่ใช้ในการหลอมหล่อในปัจจุบัน มีการนำเอาเชื้อเพลิงชนิดต่างๆมาใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาหลอมหล่อ (ขึ้นกันจุดหลอมเหลว) ซึ่งมีทั้ง ไฟฟ้า แก๊ส ถ่านโค้กและถ่านไม่ เป็นต้น จึงทำให้ข้อจำกัดในการผลิตงานหล่อลดน้อยลง สามารถหลอมหล่องานได้หลากหลายมากขึ้น เทคโนโลยีในงานหล่อ ได้มีการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อมาใช้กับกระบวนการทำงานหล่อมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีการออกแบบงานหล่อ การออกแบบเตาเทคโนโลยีในขั้นตอนการทำแบบหล่อทราย การควบคุมคุณภาพของน้ำเหล็ก การตรวจสอบงานหล่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก่อนการนำส่งลูกค้า เป็นต้น ทำให้การทำงานหล่อมีความง่ายสะดวก สะอาด ได้งานที่มีความเที่ยงตรงสูง มีของเสียต่ำ การทำงานมีความปลอดภัยสูงรวมทั้งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่ำ อุตสาหกรรมหล่อโลหะในประเทศ ปัจจุบัน งานโลหะกรรมส่วนมากที่พบจะเป็นอุตสาหกรรมเหล็กโครงสร้างเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักรกลต่างๆ โดยมีการนำเข้าเหล็ก และเหล็กรูปพรรณแบบต่าง ในประเทศยังไม่มีอุตสาหกรรมการถลุงแร่โดยตรงจากเหมืองแร่ ดังนั้นในแต่ละปีประเทศไทยต้องนำเข้าเหล็กปีละหลายแสนล้านบาทและต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเป็นจำนวนมากเช่นกัน
 

           กระบวนการหล่อโลหะและหล่อระฆัง หล่อกระดิ่ง

 
          การทำงานหล่อมีขั้นตอนการทำที่แตกต่างกันไปตามชนิดของแบบหล่อ ในเบื้องต้นถ้าเป็นการทำโดยใช้หล่อทรายชื้นซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในประเทศ เริ่มต้นจาก การออกแบบงานหล่อ และ การสร้างกระสวน ให้ได้รูปร่างตามที่ได้ออกแบบไว้ (ในขั้นตอนนี้งานหล่อทุกชนิดจะต้องมีกระสวน) ก่อนนำมาใช้ในการขึ้นรูปเป็นแบบทรายหล่อ เพื่อให้ได้แบบหล่อที่พร้อมที่จะเทหล่อ หากลักษณะงานที่ต้องการให้มีโพรงจะต้องมีขั้นตอนการทำไส้แบบเพิ่มมาอีก และก่อนเทจะต้องประกอบไส้แบบเข้ากับแบบทรายหล่อให้เรียบร้อย ในขั้นตอนการเตรียมน้ำโลหะจะต้องมีการควบคุมคุณภาพของน้ำโลหะให้ได้ส่วนผสมตามที่กำหนดเสียก่อน จึงนำไปเทลงในแบบหล่อที่เตรียมไว้ เมื่อเทหล่อแล้ว ปล่อยให้งานหล่อแข็งตัวสมบูรณ์และเย็นตัวลงดีเสียก่อนจึงทำการลื้อแบบหล่อในขั้นตอนต่อไป งานหล่อที่ได้จะต้องผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตาและนำมาทำความสะอาด ตัดรูล้น หัวป้อน และหากต้องการตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลจะต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน ที่จะจัดส่งให้กับลูกค้าต่อไป
 

         ความสำคัญของงานหล่อโลหะงานหล่อระฆัง

 
         งานหล่อโลหะ คือ ชื้นงานโลหะได้จากการเทน้ำโลหะลงไปในโพรงแบบหล่อ แล้วปล่อยให้เย็นตัวและแข็งตัวจะได้รูปร่างของชิ้นงานหล่อเหมือนกับรูปร่างของโพรงแบบ ซึ่งแตกต่างจากขบวนการอื่นๆที่ขึ้นรูปเพื่อผลิตเป็นชันงานโดยโลหะนั้นไม่ต้องทำให้หลอมเหลว เช่น การตีขึ้นรูป ( forging ) , การรีดขึ้นรูป ( rolling ) หรือการรีดดึงขึ้นรูป ซึ่งวิธีการดังกล่าวมาจะต้องใช้วิธีการทางกล แต่การหล่อไม่ต้องอาศัยวิธีการทางกล ซึ่งแต่ละวิธีการจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปแต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วงานหล่อจะมีข้อดี ดังต่อไปนี้
          1. สามารถผลิตงานที่มีรูปร่างสลับซับซ้อนทั้งภายในและภายนอกได้ ซึ่งกรรมวิธี การตีขึ้นรูปหรือการเชื่อมทำไม่ได้
          2. โลหะบางชนิดไม่สามารถขึ้นรูปได้ด้วยวิธีอื่น เนื่องจากมีลักษณะธรรมชาติทางโลหะวิทยาที่แตกต่างไปจากโลหะชนิดอื่น แต่สามารถนำมาขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อได้
          3. ชิ้นส่วนบางอย่างถ้าผลิตด้วยวิธีอื่นอาจจะต้องผลิตเป็นหลายชิ้นก่อนนำมาประกอบเป็นชิ้นงาน แต่งานหล่อสามารถหล่อให้ติดกันเป็นชิ้นเดียวกันได้
          4. การขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อสามารถผลิตในปริมาณมากๆได้ ( mass production ) ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และ ได้ผลดีกว่า
          5. การขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อสามารถผลิตชิ้นงานที่มีขนาดเล็กๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ๆได้ง่ายกว่าวิธีอื่น เช่น ปั้มน้ำ หรือ เครื่องยนต์เรือเดินทะเลที่มีน้ำหนักขนาด 200 ตัน เป็นต้นในขณะที่กรรมวิธีอื่นจะทำได้ยากกว่า
          6. คุณสมบัติบางอย่าง ดีกว่างานที่ได้จากการขึ้นรูปโดยกรรมวิธีอื่น เช่น
• งานหล่อสามารถนำไปตกแต่งด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย และมีคุณสมบัติด้านการดูดกลืนแรงสั่นสะเทือนได้ดี
• งานหล่อมีคุณสมบัติสม่ำเสมอกันดีตลอดทั้งชิ้นงาน เมื่อเปรียบเทียบกับงานตีขึ้นรูปจะมีคุณสมบัติที่ไม่สม่ำเสมอ
• งานหล่อกลุ่มโลหะเบา ที่ต้องการความแข็งแรงสูงและมีน้ำหนักเบาสามารถผลิตได้ด้วยกรรมวิธีการหล่อเท่านั้น
• สามารถผลิตงานหล่อที่ใช้ทำชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นแบริ่ง ให้คุณสมบัติด้านการหล่อลื่นที่ดี
• การผลิตโดยวิธีการหล่อสามารถควบคุมส่วนผสมทางเคมีและคุณสมบัติได้
 

           พัฒนาการของการหล่อระฆังและกระดิ่ง

 
          ระฆัง เป็นเครื่องดนตรีอย่างง่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดหนึ่งด้าน มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่นกระดิ่ง ไปจนถึงระฆังขนาดใหญ่ เช่นระฆังบิ๊กเบน ที่แขวนในหอนาฬิกาซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ระฆังสามารถทำจากวัสดุ ตั้งแต่แก้ว เซรามิค แต่ที่นิยมที่สุดคือโลหะ ระฆัง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดข้างเดียว แขวนด้านที่เปิดลงด้านล่าง อาจจะมีค้อนแขวนไว้ข้างในตัวระฆัง หรืออาจจะเอาไว้ด้านนอกก็ได้ แล้วแต่ว่าจะใช้วิธีแกว่งหรือตี เมื่อระฆังถูกตีพลังงานจากการชนของค้อนกับระฆังจะทำให้อากาศในระฆังเกิดการสั่นพ้องขึ้น ทำให้เกิดเสียงอันก้องกังวาน ในโลกตะวันตก ระฆังมักมีค้อนแขวนไว้ภายใน และแขวนไว้กับแกนที่หมุนได้แกนที่หมุนได้จะมีเชือกโยงลงไป เวลาจะลั่นก็จะกระตุกเชือก ทำให้ระฆังแกว่ง และกระทบกับค้อนเกิดเป็นเสียงขึ้น บางทีระฆังอาจจะแขวนไว้เป็นราวก็ได้ส่วนในโลกตะวันออก ระฆังมักใช้วิธีการกระแทกด้วยค้อนหรือไม้ท่อน แทนที่จะแกว่ง เทคนิคหลังนี้เป็นที่นิยมสำหรับหอนาฬิกาและหอระฆังโดยทั่วไป เพราะการแกว่งอาจทำให้หอเสียหายได้
          การหล่อระฆัง และการหล่อกระดิ่ง มักทำมาจากโลหะผสมทองแดงและดีบุก (ทองเหลือง) ในอัตราส่วนที่เหมาะสมโดยมากมักเป็น ทองแดง 3 : ดีบุก 1 หลังจากที่หล่อเสร็จแล้ว ก็จะต้องถ่วงเสียง โดยการเพิ่มหรือลดเนื้อวัสดุภายในตัวระฆัง เทียบกับการเคาะส้อมเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการระฆังสันนิษฐานว่ามีพัฒนาการมาจากการใช้วัตถุธาตุนานาชนิดกระทบกันเพื่อให้เกิดเป็นเสียงต่างๆและกำหนดสัญลักษณ์ของเสียงนั้นเป็นการสื่อความหมายที่รับรู้และเข้าใจสัญญาณที่เกิดขึ้นนั้นทั้งนี้มีการเริ่มต้นมาจากวัสดุใกล้เคียงกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อาจใช้ไม้ ดิน หิน แร่ธาตุบางชนิด และพัฒนาไปสู่การออกแบบสร้างตามคตินิยมและการแปลความหมายจากหลักของศาสนา ในประเทศไทยพบหลักฐานว่ามีการหล่อระฆัง และหล่อกระดิ่งมาเป็นระยะเวลายาวนานและทำกันเป็นอาชีพเพราะความต้องการในการประกอบการใช้งาน การจัดเป็นองค์ประกอบทางดสถาปัตยกรรม การตกแต่งจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามและเพื่อประโยชน์ด้านอื่น
 

          การหล่อระฆังและกระดิ่งในประเทศไทย

          การออกแบบสร้างและการหล่อระฆังหรือกระดิ่งในประเทศไทย สันนิษฐานมีการพัฒนาและสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน และทำกันเป็นการเฉพาะกลุ่มหรือสกุลช่างมีเอกลักษณ์เฉพาตัวเป็นกรอบและลักษณะประจำของกลุ่มช่างนั้นๆทั้งนี้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเสียง เนื่องด้วยเสียงของระฆัง หรือกระดิ่งจะมีค่าความแปรผันจากวัสดุที่ใช้ผสมสำหรับการหล่อโดยจะวัดค่าของระฆังหรือกระดิ่งด้วยการตีและมีความดังกังวานมากน้อยกว่ากันเพียงใด
 
#หล่อระฆัง #โรงหล่อระฆัง #โรงหล่อกระดิ่ง #โรงหล่อระฆังสยามเบลล์ #โรงหล่อกระดิ่งสยามเบลล์ #โรงหล่อระฆังทองเหลือง #โรงหล่อระฆังลงหิน #โรงหล่อระฆังโบสถ์ #โรงหล่อระฆังโบสถ์คริสต์
 

  

 

 

   

 

 

Visitors: 401,616